สวัสดีค่ะ ผู้ปกครองทุกท่าน ขอเชิญชมภาพบรรยากาศการเรียนการสอนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาค่ะ
รายวิชา : การงานอาชีพ
กิจกรรม โคมหูกระต่าย
ผู้สอน : ครูสัญชัย งอยปัดพันธุ์
“ในช่วงก่อนจะถึงวันเพ็ญเดือนยี่ ชาวล้านนาที่มีฝีมือเชิงช่างจะประดิษฐ์โคมรูปลักษณะต่างๆ เพื่อเตรียมใช้ในการจุดผางประทีปบูชาที่วัดในวันเพ็ญเดือนยี่ โดยการแขวนใส่ค้างโคมบูชาตามพระธาตุเจดีย์ แขวนไว้หน้าวิหาร กลางวิหาร หรือในปัจจุบันนิยมแขวนประดับตกแต่งตามอาคารบ้านเรือน โคมล้านนามีลักษณะหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่การสร้างสรรค์ตามภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น โคมรูปแบบโบราณที่พบทั่วไปในล้านนา เช่น โคมรังมดส้ม (โคมธรรมจักร) โคมดาว โคมไห โคมเงี้ยว(โคมเพชร) โคมกระบอก โคมหูกระต่าย โคมดอกบัวโคมญี่ปุ่น โคมผัด ฯลฯ ในปัจจุบันมีการประดิษฐ์โคมรูปแบบใหม่ เช่น โคมรูปจรวด รูปเครื่องบิน โคมร่ม โคมปราสาท ฯลฯ โคมต่างๆเหล่านี้ ส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่เฮียะ นำมาหักขึ้นเป็นโครง ติดกระดาษสาหรือกระดาษแก้ว ผ้าดิบ ตัดลายกระดาษสีเงิน สีทอง ประดับตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม ปัจจุบันหมู่บ้านที่เป็นแหล่งผลิตโคมและจำหน่ายโคมที่ใหญ่ที่สุด คือ บ้านเมืองสาตร ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่”
ที่มา https://lannainfo.library.cmu.ac.th/lannatradition/yeepeng-chomyeepeng.php
ครูอธิบายถึงที่มาของโคมหูกระต่าย และให้นักเรียน ตัดลวด และกระดาษแก้ว กระดาษสีทอง ตกแต่ง ทำโคมหูกระต่ายให้สวยงาม
คณะครูประถมศึกษาประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ขอความอนุเคราะห์ผู้ปกครองทุกท่าน
ไม่นำรูปภาพของนักเรียนที่ไม่ใช่บุตรหลานของท่านไปเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ต่างๆ
เพื่อไม่ให้ขัดต่อพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)